FED คืออะไร

The Federal Reserve (FED) หรือธนาคารกลางสหรัฐนั้น มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน เนื่องจากการตัดสินใจของ FED จะเป็นการกำหนดถึงทิศทางเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

FED มีความสำคัญอย่างไร

FED นั้นมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ และการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีผลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต อัตราคิดลด (Discount rates) และการลงทุนของนักลงทุน ซึ่งไม่มีใครจะสามารถคาดการณ์ได้ถูกต้องว่าทิศทางในอนาคตและนโยบายของ FED จะเป็นอย่างไร ซึ่งต้องอาศัยการวิเคราะห์ การคาดเดาจากการสื่อสารของ FED ทั้งนี้ เป้าหมายหลักของ FED นั้นคือการกำหนดนโยบายการเงิน เพื่อทำให้เศรษฐกิจเติบโตเต็มศักยภาพ มีการจ้างงานเต็มที่ และอัตราเงินเฟ้อมีเสถียรภาพ FED จะใช้นโยบายการเงินเพื่อรักษาเศรษฐกิจไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืด เงินเฟ้อ หรือมีอัตราว่างงานที่สูงจนเกินไป โดย 1 ในเครื่องมือหลักที่คนให้ความสนใจคือการกำหนดทิศทางอัตราดอกเบี้ยของ FED ทั้งระยะสั้นและระยะยาว


เครื่องมือในการกำหนดนโยบายการเงินของ FED

  • The Federal-Funds Rate อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ คือนโยบายที่ถูกพูดถึงกันมากที่สุด ซึ่งใช้เพื่อเป็นการส่งสัญญาณหรือบอกถึงทิศทางนโยบายการเงิน
  • Asset Purchases คือการเข้าซื้อสินทรัพย์ในตลาดการเงิน เช่น Mortgage-backed securities หรือ Longer-duration Treasuries เพื่อกดให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวในตลาดลดต่ำลง
  • Forward Guidance การแนะนำหรือสื่อต่อสารธารณะชนเพื่อสร้างความคาดหวังต่อแนวทางนโยบายและทิศทาง
  • Reserve Requirements การกำหนดอัตราเงินสดสำรองขั้นต่ำของธนาคารพาณิชย์ ซึ่ง FED กำหนดไว้ที่ 0%

โครงสร้างของ FED

ธนาคารกลางสหรัฐถูกก่อตั้งขึ้นโดยรัฐสภา ประกอบไปด้วย 3 หน่วยงานหลักคือ Federal Reserve banks, Board of governors และ Federal Open Market Committee ซึ่งนักลงทุนมักจะให้ความสนใจต่อคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ FOMC เนื่องจากเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการกำหนดและตัดสินใจเรื่องนโยบายการเงิน ทั้งการกำหนดอัตราดอกเบี้ย และปริมาณการซื้อสินทรัพย์ FOMC จะมีการประชุมเป็นประจำและแถลงผลการประชุมและการคาดการณ์เศรษฐกิจต่อประชาชน ทั้งนี้ FOMC มีสมาชิก 12 คนที่ได้รับการโหวต สมาชิกเหล่านี้มาจากบอร์ดของผู้ว่าการ 7 คน และอีก 5 คน เป็นประธานของธนาคารกลาง

การกำหนดอัตราเงินเฟ้อและอัตราการจ้างงาน

FED กำหนดอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายไว้ที่ 2% ซึ่ง FED อาจปล่อยให้ในบางช่วงอัตราเงินเฟ้อเกิน 2% ได้ก่อนที่จะทำการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อคุมให้อัตราเงินเฟ้อปรับลงมาอยู่ที่ 2% ขณะที่อัตราการว่างงานระยะยาวกำหนดอยู่ที่ 4%

การดำเนินนโยบายของ FED

ในภาวะที่เกิด Supply shock เช่น ขาดแคลนน้ำมัน หรือภาวะขาดแคลนชิ้นส่วนอิเล็คโทรนิค FED อาจต้องเลือกว่าจะพยายามรักษาระดับราคาหรืออัตราเงินเฟ้อโดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือจะกระตุ้นให้เกิดการผลิตเพื่อมาชดเชยความต้องการผ่านการผ่อนปรนหรือลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

Quantitative easing หรือ มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ คือการที่ FED เข้าซื้อสินทรัพย์ในระบบการเงิน เพื่ออัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบและลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลง ซึ่งการทำ QE นั้นไม่ได้ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจากเป็นการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือซื้อ Mortgage-backed securities จากสถาบันการเงิน เพื่อลดอัตราดอกเบี้ยในระบบลง

อย่างไรก็ตามในมุมของนักลงทุนอาจไม่จำเป็นต้องรู้ถึงรายละเอียดการดำเนินนโยบายการเงินของ FED แต่ควรรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนโยบาย เช่น การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยหรือการอัดฉีดเงินเข้าระบบนั้นจะกระทบต่ออัตราเงินเฟ้ออย่างไร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น