ประเภทของโบรกเกอร์ Forex หลักๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
- Dealing Desks (DD)
- No Dealing Desks (NDD)
Dealing Desks (DD) หรือที่เรียกกันในอีกชื่อนึงว่า Market Makers
ส่วน No Dealing Desks (NDD) สามารถแบ่งประเภทย่อยออกมาได้อีก คือ
- Straight Through Processing (STP) และ
- Electronic Communication Network + Straight Through Processing (ECN+STP)
โบรกเกอร์ Forex Dealing Desks (DD)
โบรกเกอร์ Forex ที่ให้บริการในรูปแบบ ของ Dealing Desks (DD) หรือที่เรียกกันว่า Market makers … จะเป็นลักษณะโบรกเกอร์ที่ไม่ได้นำออเดอร์ของลูกค้าเข้าสู่ตลาดจริงโดยตรง โดยทางโบรกจะหาวิธีการต่างๆ เพื่อจับคู่สถานะตรงกันข้ามกับลูกค้า เช่น
- จับคู่ออเดอร์ของลูกค้าด้วยกันเอง เช่น ลูกค้าคนนึง Long ก็หาลูกค้าอีกคนนึงที่ Short มาจับคู่กัน เป็นต้น
- ถ้าโบรกเกอรไม่สามารถจับคู่สถานะของลูกค้ากันเองได้ ก็จะไปเทรดสถานะตรงข้ามกับลูกค้าในตลาดจริง หรือกับโบรกเกอร์อื่น เพื่อป้องกันความเสี่ยง
- หรือว่า … รับออเดอร์ของลูกค้านั้นตรงๆ เลย ไม่ได้ไปเปิดสถานะตรงข้ามแต่อย่างใด
โดยจากตัวอย่าง 2 อันแรกข้างต้น โบรกเกอร์จะได้กำไรจากส่วนต่างของ Spread บนค่าเงินต่างๆที่เราเทรด … แต่อันหลังสุด มันประมาณว่า โบรกเกอร์พนันว่าคนที่มาเทรดสุดท้ายจะแพ้เองในที่สุด (คล้ายๆกับคาสิโนที่รับพนันกับผู้เล่นนั่นเอง)
ซึ่งถ้าพูดให้ลึกเข้าไปอีก … โดยส่วนมากวงการโบรกเกอร์ Forex มักจะทำกันอย่างงี้
เค้าจะแบ่งกลุ่มลูกค้าเป็น 2 ประเภท คือ
- กลุ่มลูกค้าที่สามารถทำกำไรได้จริง
- กลุ่มลูกค้าที่ไม่สามารถทำกำไรได้
ส่วนมากโบรกเกอร์จะรับออเดอร์ของกลุ่มลูกค้าที่ “ไม่สามารถทำกำไรได้” ตรงๆเลย เพราะเค้ารู้ว่าสุดท้ายแล้วกลุ่มลูกค้าพวกนี้ยังไงก็จะเจ๊ง จะสูญเสียเงินจากการเทรดทั้งหมด .. และโบรกเกอร์ก็จะได้กำไรเต็มๆ ในส่วนนี้
แต่…
ถ้าโบรกเกอร์เจอกลุ่มลูกค้าที่ “สามารถทำกำไรได้จริง” โบรกเกอร์จะพยายามจับคู่ออเดอร์ตรงกันข้ามให้ หรือว่าถ้าหาไม่ได้ ก็ไปเปิดสถานะตรงกันข้ามในตลาดจริงแทน เพื่อป้องกันความเสี่ยง และกินแค่ค่า Spread แทน
แต่อย่างไรก็ดี ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารความเสี่ยงของทางตัวโบรกเกอร์เองว่าจะใช้วิธีใด ซึ่งอันนี้เราต้องไปเช็คดูว่า โบรกเกอร์ที่เราใช้อยู่เค้าใช้ลักษณะใดในการบริหารธุรกิจ
โบรกเกอร์ Forex No Dealing Desks (NDD)
ง่ายๆ เลยคือ ประเภทโบรกเกอร์ที่ “ไม่ใช่” พวก Dealing Desks นั่นเอง
โดยโบรกเกอร์ประเภทนี้จะนำคำสั่งของลูกค้ายิงเข้าสู่ตลาดจริงโดยตรง (ไม่มีการรับออเดอร์ลูกค้าแต่อย่างใด) เป็นเพียงตัวกลางที่จะคอยนำคำสั่งของลูกค้าไปสู่ตลาดจริงหรือที่เรียกกันว่า Interbank market* ซึ่งในนั้นจะมีผู้เล่นจริงๆ ทั้งธนาคาร , กองทุน , โบรกเกอร์ , Hedge fund , ลูกค้าจากที่ต่างๆ ที่เทรดค่าเงินจริงๆกันอยู่แล้ว ซึ่งตลาดนี้เองที่เป็นแหล่งอ้างอิงในการกำหนดมูลค่าของค่าเงินต่างๆที่โชว์ให้เราเห็นตามที่ต่างๆ ทั่วโลก
โดยโบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desk นี้จะทำกำไรจากการเก็บค่าคอม (Commission) จากการเทรด หรือบวกเพิ่มส่วนต่างนิดหน่อยจาก Spread
แต่ในส่วน No Dealing Desks (NDD) ยังสามารถแบ่งย่อยได้อีก คือ STP และ STP+ECN
มาดูสรุปของประเภทโบรกเกอร์แต่ละอันกัน
Dealing Desk , No Dealing Desk (STP) และ No Dealing Desk (STP+ECN)