Market Order
– Market Order เป็นคำสั่งซื้อขายทันที ณ ราคาที่ดีที่สุดในขณะนั้น ซึ่งเป็นราคาที่ใช้ตำแหน่งปัจจุบันหรือราคาตลาด
– Market Order จะกลายเป็นตำแหน่งเปิดทันที และอาจมีความผันผวนในตลาด
– หมายความว่าหากราคาขยับไปในทิศทางตรงข้ามกับที่คุณคาดการณ์ มูลค่าสำหรับตำแหน่งของคุณจะลดลง นี่คือการขาดทุนที่ยังไม่รับรู้ (Unrealized Loss)
– หากคุณทำการปิดตำแหน่งที่จุดนี้ คุณจะรับรู้ถึงการขาดทุน และยอดคงเหลือในบัญชีจะได้รับการคำนวณเพื่อสรุปยอดทั้งหมด
เนื่องจากตลาดฟอเร็กซ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ราคาที่ดำเนินการอาจแตกต่างจากราคาล่าสุดที่คุณเห็นบนแพลตฟอร์มการซื้อขาย สิ่งนี้เรียกว่า “สลิปเพจ (Slippage)” บางครั้ง Slippage จะเป็นผลดีกับคุณ และบางครั้งอาจส่งผลเสียกับคุณ
Limit Order
– Limit Order เป็นคำสั่งสำหรับซื้อหรือขายคู่สกุลเงิน แต่ใช้ได้เมื่อมีเงื่อนไขบางอย่างรวมอยู่ในคำสั่งซื้อขายเดิมเท่านั้น
– จนกว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไข คำสั่งจะถูกพิจารณาว่าเป็นคำสั่งล่วงหน้า และไม่มีผลต่อบัญชีทั้งหมดหรือการคำนวณมาร์จิ้นของคุณ
– โดยทั่วไปการใช้งานคำสั่งล่วงหน้าคือการสร้างคำสั่งที่จะดำเนินการโดยอัตโนมัติ หากอัตราแลกเปลี่ยนถึงระดับที่กำหนด
– ยกตัวอย่างเช่น หากคุณเชื่อว่าราคา EUR/GBP กำลังจะแกว่งขึ้น คุณสามารถจำกัดคำสั่งซื้อด้วยราคาที่มากกว่าราคาตลาดเล็กน้อย หากอัตราแลกเปลี่ยนขยับขึ้นตามที่คุณคาดการณ์ และถึงระดับราคาที่จำกัดของคุณ คำสั่งซื้อจะถูกดำเนินการโดยที่คุณไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม
– Limit Order เป็นคำสั่งล่วงหน้าที่ไม่มีผลต่อยอดรวมบัญชีของคุณ และสามารถยกเลิกเมื่อใดก็ได้โดยไม่มีผลตามมา อย่างไรก็ตาม หากเป็นไปตามเงื่อนไขของ Limit Order คำสั่งล่วงหน้าจะถูกดำเนินการ และกลายเป็น Market Order ที่มีผล
Take-Profit Order
– Take Profit Order จะปิดคำสั่งที่เปิดอยู่โดยอัตโนมัติ เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนถึงระดับที่กำหนด
– Take Profit Order จะใช้เพื่อล็อกกำไรเมื่อคุณไม่สามารถเฝ้าดูตำแหน่งเปิดของคุณได้
– ยกตัวอย่างเช่น หากคุณซื้อ USD/JPY ที่ 109.58 และคุณต้องการรับกำไรเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนถึงนระดับ 110.00 คุณสามารถกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนนี้เป็นระดับ Take Profit หากราคา Bid ถึง 110.00 ตำแหน่งที่เปิดจะถูกปิดโดยระบบ และคุณจะได้รับกำไร
– การซื้อขายของคุณจะปิดที่ราคาตลาดปัจจุบัน ในตลาดที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว อาจมีช่องว่างระหว่างอัตรานี้ และอัตราที่คุณกำหนดสำหรับการ Take Profit
Stop-Loss Order
– คำสั่ง Stop Loss คล้ายกับคำสั่ง Take Profit ซึ่งเป็นกลไกเชิงรับที่คุณสามารถใช้ปกป้องการสูญเสียเพิ่มเติม รวมถึงการหลีกเลี่ยง Margin Call
– คำสั่ง Stop Loss จะปิดตำแหน่งที่เปิดอยู่โดยอัตโนมัติ เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนไม่เป็นไปตามที่คุณต้องการ และถึงระดับที่คุณกำหนด
– ยกตัวอย่างเช่น หากคุณซื้อ USD/JPY ที่ 109.58 คุณควรกำหนด Stop Loss ที่ 107.00 หากราคา Bid ลดลงมาที่ระดับนี้ การซื้อขายจะถูกปิดโดยอัตโนมัติ ดังนั้นจึงเป็นการจำกัดความสูญเสียของคุณ
– สิ่งสำคัญคือการเข้าใจว่าคำสั่ง Stop Loss สามารถจำกัดความสูญเสียได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียได้
– การซื้อขายของคุณจะปิดที่ราคาตลาดปัจจุบัน ในตลาดที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว อาจมีช่องว่างระหว่างอัตรานี้ และอัตราที่คุณกำหนดสำหรับการ Stop Loss
– หากราคาถึงระดับ Stop Loss ของคุณเมื่อการซื้อขายดำเนินต่อในวันจันทร์ การซื้อขายของคุณจะถูกดำเนินการที่ราคาลาดปัจจุบัน ซึ่งอาจต่ำกว่าอัตรา Stop Loss ที่คุณกำหนด ส่งผลให้เกิดการสูญเสียเพิ่มเติม
– เพื่อผลประโยชน์สูงสุด คุณต้องรวมคำสั่ง Stop Loss เข้าไปในตำแหน่งเปิดของคุณ ให้คิดว่ามันคือรูปแบบพื้นฐานของหลักประกันสำหรับบัญชี
ผู้เทรดจะใช้คำว่า “Stop Out” เพื่ออธิบายสถานการณ์ที่ Stop Loss ปิดตำแหน่ง
Trailing Stop Order
– คำสั่ง Trailing Stop คล้ายกับคำสั่ง Stop Loss ซึ่งสามารถใช้เพื่อจำกัดการสูญเสีย และหลีกเลี่ยง Margin Call
– คำสั่ง Trailing Stop คล้ายกับ Stop Loss ในแง่ของการปิดการซื้อขายอัตโนมัติ หากตลาดขยับไปในทิศทางที่ไม่ต้องการตามระยะที่กำหนด
– คุณสมบัติหลักของคำสั่ง Trailing Stop คือตราบใดที่ราคาตลาดขยับไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ ราคาที่กำหนดไว้ (Trigger Price) จะติดตามราคาตลาดอัตโนมัติตามระยะที่ระบุ
– วิธีนี้จะทำให้การซื้อขายของคุณมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และลดปริมาณการสูญเสียที่คุณต้องเสี่ยง
– ยกตัวอย่างเช่น หากคุณถือตำแหน่ง Long ราคาที่กำหนดไว้ (Trigger Price) จะขยับขึ้นเรื่อยๆ หากราคาตลาดขยับขึ้น แต่จะไม่เปลี่ยนแปลงหากราคาตลาดเคลื่อนที่ลง หากคุณถือตำแหน่ง Short ราคาที่กำหนดไว้ (Trigger Price) จะขยับลงเรื่อยๆ หากราคาตลาดขยับลง แต่จะไม่เปลี่ยนแปลงหากราคาตลาดเคลื่อนที่ขึ้น