รู้จักกับข่าว Forex
สำหรับการเทรดหรือลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ หรือตลาดค่าเงิน เทรดเดอร์จะต้องพบเจอคำว่า “ข่าว Forex”, “ปฏิทินข่าว Forex” เนื่องจากเป็นสิ่งที่มักจะตัดสินความเป็นความตายให้กับการเทรดระยะสั้นๆ โดยเฉพาะบรรดา Day Trading ซึ่งความจริงแล้ว ชื่ออย่างเป็นทางการจริงๆ เวลาที่คนบอกว่า “อย่าลืมดูข่าว Forex” คือสิ่งที่เรียกว่า “ปฏิทินเศรษฐกิจ” (Economic Calendar)
ปฏิทินเศรษฐกิจ (Economic Calendar) คือ กำหนดการอย่างเป็นทางการในการเผยแพร่ข้อมูลทางเศรษฐกิจ หรือการประกาศนโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งมักเป็นสิ่งที่ ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ประเภทต่างๆ เช่น การประกาศอัตราดอกเบี้ย ตัวเลขเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน ซึ่งจะได้อธิบายต่อไปในหัวข้อถัดไป
สำหรับเฉพาะเทรดเดอร์ในเมืองไทยนั้น เหตุผลที่เรานิยมเรียก “ปฏิทินเศรษฐกิจ” ว่าเป็นข่าว Forex ก็เพราะว่า การประกาศสิ่งต่างๆ ในปฏิทินเศรษฐกิจ มักจะส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน หรือ Forex หรืออธิบายในมุมกลับกันก็คือ เพราะตลาด Forex นั้นอ่อนไหวต่อการประกาศตัวเลขในปฏิทินเศรษฐกิจ เราจึงนิยมเรียกปฏิทินดังกล่าวว่า “ข่าว Forex” ในบทความนี้ เราจะได้เรียนรู้หัวข้อดังต่อไปนี้
ปฏิทินข่าว Forex สำคัญอย่างไร
เราจะเรียก “ปฏิทินเศรษฐกิจ” ด้วยคำว่า “ข่าว Forex” เพื่อความสะดวก โดยตัวเลขที่ประกาศในตารางข่าว Forex นั้น คือ ข้อมูลที่แสดงถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ รวมถึงแนวทางที่ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจจะดำเนินการกับประเทศดังกล่าว ดังนั้น
- ข่าว Forex ต่างๆ ที่ประกาศในปฏิทิน จึงเป็นข้อมูลที่เราจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis)
- ข่าว Forex เกือบทุกข่าวจะส่งผลต่อแนวโน้มของ คู่เงิน Forex ในระยะสั้น หรือทันที!
- ข่าว Forex บางข่าวจะส่งผลต่อแนวโน้มระยะยาวของคู่เงินต่างๆ
- ข่าว Forex จะส่งผลต่อตลาดหุ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะพวก GDP, PMI
ดูปฏิทินข่าว Forex ได้จากไหน
โบรกเกอร์ Admiral Markets ให้จัดเตรียมตารางข่าว Forex ให้ดูเรียบร้อยแล้ว ที่หน้าเว็บไซต์ให้เลือกแท็บ “การวิเคราะห์” แล้วเลือก “ปฏิทิน Forex” หรือสามารถเข้าโดยตรงได้ที่ลิงค์ : https://admiralmarkets.sc/th/analytics/forex-calendar
โดยปฏิทินข่าวเศรษฐกิจดังกล่าว จะแสดงกำหนดการทั้งหมดและของทั้งเดือนว่า ในแต่ละสัปดาห์จะมีประกาศตัวเลขอะไรที่สำคัญบ้าง และประกาศตอนกี่โมงตามเวลาประเทศไทย และที่สำคัญเลยก็คือ จะมีการอัปเดตข้อมูลตัวเลขแบบ Real-Time และ นอกจากนี้ ตัวปฏิทินข่าว Forex ยังได้มีการ Guide คร่าวๆ ไว้ด้วยแล้วว่า “ข่าวไหนสำคัญ” ซึ่งเราจะได้อธิบายต่อไป
ส่วนประกอบต่างๆ ของปฏิทิน เมื่อคุณเข้าไปที่ปฏิทินข่าว Forex ในลิงค์ https://admiralmarkets.sc/th/analytics/forex-calendar
ส่วนประกอบต่างๆ ของปฏิทิน เมื่อคุณเข้าไปที่ปฏิทินข่าว Forex ในลิงค์ https://admiralmarkets.sc/th/analytics/forex-calendar
แล้วคุณจะพบเจอกับตารางกำหนดการการประกาศข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ดังภาพที่ 1.4 ด้านล่าง
ภาพ 1.4 : แสดงส่วนประกอบต่างๆ ของปฏิทินข่าว Forex
- ตรงนี้คือโซนเวลา ให้เราเลือก Asia/Bangkok เพื่อให้เวลาที่แสดง เป็นเวลาตามประเทศไทย
- เวลาในส่วนนี้ปกติจะเป็นเวลา ณ วันที่คุณเปิดเข้ามา แต่คุณสามารถเลือกวันเวลาล่วงหน้าได้ เช่น ในกรณีนี้ ได้เลือกวัน จ-ศ ของสัปดาห์หน้า เพื่อดูว่าในสัปดาห์หน้ามีประกาศอะไรบ้าง เราจะได้วางแผนล่วงหน้าได้
- ปุ่มนี้ต้องกดหลังจากเลือกเวลาเสร็จแล้ว
- เวลาที่จะมีการประกาศ
- ข้อมูลตรงนี้จะบอกว่า เป็นประกาศจากหน่วยงานรัฐของประเทศไหน เช่น EUR ก็เป็นหน่วยงานด้านสถิติของยุโรปที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขนั้นๆ ของ ซึ่งวิธีการดูง่ายๆ คือ ให้ดูธงว่าเป็นธงของประเทศไหน เพราะตัวเลขที่ประกาศนั้น จะส่งผลต่อสกุลเงินของประเทศนั้น
- ค่าความผันผวน : ตรงนี้จะเป็นตัว Guide ให้เราคร่าวๆ ว่า ข่าวไหนมีความสำคัญ ถ้ามี 1 ดาว (สีเขียว) ก็คือเป็นข่าวทั่วๆ ไป แต่เป็น 2-3 ดาว (สีส้ม, แดง) จะเป็นข่าวที่สำคัญและส่งผลต่อมุมมองในเชิงปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งจะได้อธิบายอย่างละเอียดต่อไป
- ชื่อเหตุการณ์ตรงนี้จะบอกว่ามันคือ “ข่าวอะไร”
- ตัวเลขคาดการณ์ และตัวเลขที่ประกาศออกมา ซึ่งในกรณีที่เราดูล่วงหน้าไปหลายๆ สัปดาห์ ตัวเลขคาดการณ์เหล่านี้จะยังไม่มีแสดงออกมา ต้องรอใกล้ๆ 2-3 วัน ก่อนการประกาศ
- ส่วน A, B เป็นส่วนที่มีความสำคัญน้อย โดย A จะเป็นเพียงการเลือกประเทศต่างๆ ที่แสดงในตารางข่าว Forex ซึ่งปกติระบบจะเลือกประเทศที่สำคัญทั้งหมดไว้ให้แล้ว ส่วน B จะเป็นตัวเลขทีประกาศก่อนหน้า ตรงนี้จะสำคัญก็ต่อเมื่อคุณมีการทำข้อมูลย้อนหลังเพื่อวิเคราะห์อย่างละเอียด
วิธีการอ่านค่าความผันผวน 1-3 ดาว
จริงๆ ประเด็นนี้ไม่ได้มีอะไรมาก เพียงแต่เราต้องเข้าใจก่อนว่า ตัวเลขเศรษฐกิจพวกนี้จะมีประกาศออกมาทุกวัน แต่ไม่ใช่ทุกข่าวที่มีความสำคัญ ตัวเลขบางอย่างไม่ได้จำเป็นหรือบ่งบอกอะไรที่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ตารางข่าวของ Admiral Markets จึงได้สรุปและแบ่งข่าวออกเป็น 3 ระดับ
- 1 จุด : สีเขียว
- มีผลกระทบ ณ วินาทีที่ประกาศ : น้อย
- 2 จุด : สีส้ม
- มีผลกระทบ ณ วินาทีที่ประกาศ : พอสมควร
- 3 จุด : สีแดง
- มีผลกระทบ ณ วินาทีที่ประกาศ : ตลาดจะผันผวนสูงมาก
ข่าว Forex ที่มี 1 จุด หรือสีเขียว จะมีผลกระทบน้อยมาก หรือความจริงคือแทบจะไม่มีผลกระทบอะไรเลย เป็นตัวเลขที่ไม่สำคัญและไม่สามารถสะท้อนถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตได้
ข่าว 2 จุด คือข่าวที่สำคัญ โดยข่าว 2 จุด หรือสีส้ม ณ วินาทีที่ประกาศ มักจะสร้างความผันผวนในระดับหนึ่ง แต่ไม่มากนัก โดยความสำคัญของข่าวสีส้ม คือมันเป็นตัวเลขที่สะท้อนสภาวะเศรษฐกิจได้ดี หากมีข่าว Forex 2 จุด ประกาศไปในทิศทางเดียวกันหลายๆ ข่าว ก็ย่อมเชื่อได้ว่า เศรษฐกิจเป็นแบบนั้นจริงๆ อย่างไรก็ตาม ข่าวสีส้มหรือ 2 จุด จะไม่ใช่ตัวเลขที่นักลงทุนให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะ
- มักเป็นตัวเลขของบางอุตสาหกรรม, บาง Sector ที่สำคัญ (แต่ยังไม่สะท้อนภาพรวมทั้งหมด)
- มักเป็นตัวเลขที่ต้องการการยืนยันแนวโน้มจากตัวเลขอื่นๆ เช่น Personal Spending มักต้องการการยืนยันจากตัวเลขเงินเฟ้อหรือยอดค้าปลึก อีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม รายละเอียดเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องจำให้ได้ทั้งหมด
- อาจเป็นเพียงการแสดงความเห็นของคณะกรรมการในธนาคารแห่งชาติบางท่านเท่านั้น
- อาจเป็นตัวเลขที่สำคัญก็จริง แต่ไม่ใช่ตัวเลขที่ประเทศนั้นๆ ใช้พิจารณาในการกำหนดนโยบาย เช่น Unemployed Rate ถ้าเป็นของสหรัฐฯ จะเป็น 3 จุด แต่ถ้าเป็น Unemployed Rate ของสหภาพยุโรป จะอยู่ในกลุ่ม 2 จุด
ข่าว 3 จุด “สีแดง” คือข่าวที่มีความสำคัญมากที่สุด ข่าว Forex ในกลุ่มนี้ จะเป็นตัวเลขที่สร้างความผันผวนให้ตลาดอย่างมาก ณ วินาทีที่ประกาศ และเป็นตัวเลขที่สะท้อนสภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมได้ชัดเจน มักเป็นตัวเลขที่ธนาคารกลางจะใช้พิจารณาว่า เศรษฐกิจดีหรือไม่ดี? หรือจะต้องกำหนดนโยบายอย่างไร? ให้สังเกตว่า ข่าว 3 จุด มักเป็นอะไรที่เป็น “หัวใจ” ของเศรษฐกิจ เช่น Balance of Trade, Interest Rate, GDP
ภาพ 1.5 : สังเกตสีหรือจุดของแต่ละข่าว จะแตกต่างกัน
จากภาพ 1.5 จะเห็นว่า ในวันดังกล่าว มีข่าว “CAD” ที่เป็นสีแดงหรือ 3 จุด ในเวลา 19.30 น. ตามเวลาประเทศไทย นั่นหมายความว่า หากคุณกำลังเทรด โดยเฉพาะการ Daytrade หรือ Scalping ในคู่เงินใดๆ ที่มี CAD อยู่ เช่น USDCAD, CADJPY, AUDCAD เป็นต้น คุณต้องจับตา “วินาที” ที่มีการประกาศตัวเลขในตอน 19.30 น. เพราะหากตัวเลขดี ค่าเงิน CAD ก็จะแข็งค่าขึ้น
การที่ Balance of Trade ของแคนาดา ออกมาดี ก็ย่อมหมายถึง ประเทศแคนาดาสามารถส่งออกได้มากกว่านำเข้า ทำให้ยอดผลรวมกลายเป็นบวก ในกรณีนี้เราอาจต้องพิจารณาข่าวนอกตารางอื่นๆ ว่า ปัจจัยใดที่ทำให้แคนาดาส่งออกได้เยอะ เช่น หากราคาน้ำมันเป็นแนวโน้มขาขึ้น แคนาดาส่งออกน้ำมันเยอะ ย่อมได้เงินในส่วนของบัญชี Export เยอะกว่าปกติ ซึ่งถ้าทุกอย่างสอดคล้องกัน ตัวเลข Balance of Trade ที่ออกมาดี ก็ย่อมทำให้มุมมองของค่าเงิน CAD ในระยะยาวเป็นบวก